ประวัติของ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
ความเป็นมา สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคมีวิวัฒนาการที่ยาวนานเริ่มจาก ”หน่วยติดตามผล” เป็นหน่วยงานติดตามผลงานด้านอนามัยของจังหวัดต่างๆ 26 จังหวัดในภาคกลาง สังกัดกรมการแพทย์และอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 ระยะแรกสำนักงานตั้งอยู่ที่ กองพัฒนาอนามัย วังเทเวศม์ เมื่อ พ.ศ. 2508 ย้ายออกมาตั้งที่ อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เรียกว่า “ที่ทำการพัฒนาอนามัยภาคกลาง” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาอนามัยภาคกลาง”และในปีพ.ศ. 2513 เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาอนามัยเขต 1 ” รับผิดชอบ 8จังหวัดกับ 1 นครหลวงฯ และใน พ.ศ. 2517 ได้มีการรวมกองพัฒนาอนามัยและกองสุขภาพเข้าด้วยกันให้ชื่อใหม่เป็น กองอนามัยส่วนภูมิภาค ขณะเดียวกันศูนย์พัฒนาอนามัยเขต 1 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์อนามัยส่วนภูมิภาคเขต 1 ขึ้นอยู่กับกองอนามัยส่วนภูมิภาค ต่อมาใน พ.ศ. 2518 กระทรวงสาธารณสุขได้มีการแบ่งส่วนการบริหารราชการใหม่ กล่าวคือได้แยกกองอนามัยส่วนภูมิภาคออกเป็น 2 กอง คือกองสุขาภิบาลให้ขึ้นอยู่กับกรมอนามัยและกองสุขภาพ ขึ้นอยู่กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงเกิดมีกองสุขาภิบาลขึ้นทำให้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาอนามัยเขต เปลี่ยนโฉมหน้าไปโดยมีงานสุขาภิบาลทั้งในชนบทและในเมืองเพิ่มขึ้นมา และเรียกว่า “ศูนย์สุขาภิบาลเขต 1” รับผิดชอบ 9 จังหวัดในภาคกลาง ซึ่งทั้งประเทศมีทั้งหมด 9 เขตดำเนินการสนับสนุนงานอนามัยและสุขาภิบาลในส่วนภูมิภาค ใน พ.ศ. 2530 มีการปรับโครงสร้างส่วนราชการของกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง โดยมีการรวม 3 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์สุขาภิบาล ศูนย์สุขาภิบาลอาหาร และศูนย์ประปาชนบท เข้าด้วยกันเป็น ”ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต” ขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 12 เขตทั่วประเทศขึ้นตรงต่อกรมอนามัย มีหน้าที่ดำเนินการสนับสนุนอนามัยสิ่งแวดล้อมและการจัดหาน้ำสะอาดในส่วนภูมิภาค จากการปฏิรูประบบราชการ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพ.ศ. 2545 กำหนดหน่วยงานสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 ให้เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและเป็นส่วนราชการระดับกอง เป็นการโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของสองส่วนราชการมารวมกัน คือ ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 1 - 12 เฉพาะภารกิจสิ่งแวดล้อม) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 12 สังกัดสำนักงานโนบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งเป็น “สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 – 16” สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 7 หรือ สสภ.7 สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สป.ทส.) รับผิดชอบพื้นที่ 5 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ ”ลุ่มน้ำป่าสัก” ซึ่งต้นน้ำอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ไหลผ่านจังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี และพื้นที่”ลุ่มน้ำนครนายก” ไหลผ่านจังหวัดนครนายก รวมทั้ง“ลุ่มน้ำปราจีนบุรี”ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี มีภารกิจในการจัดทำแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภาค จัดทำระบบฐานข้อมูล ประสานระหว่างหน่วยงานตลอดจนการ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน สนับสนุนด้านวิชาการและส่งเสริมศักยภาพการดำเนินงานของท้องถิ่นในการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังมลพิษสิ่งแวดล้อมและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและสร้างเครือข่าย รวมทั้งพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
รายนามผู้บริหารสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรี จากอดีตถึงปัจจุบัน
นายมงคล โฉมงาม หัวหน้าศูนย์สุขาภิบาลเขต 1
นายประทีป ศิริโพธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 2
นายอุทิศ เกิดเพียร ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 2
นายองอาจ ชนะชาญมงคล ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อมเขต 2
นางสาวกฤษณา เชยพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นายภูวพล ภานุมาศเมธี ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นางสาวจารุภา อยู่พูล ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นางประนอม ปิยะสาธุกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นายปิยะ พรหมสถิต ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นางศิริวรรณ สุดาจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7
นายสวง สุดประเสริฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (กรมควบคุมมลพิษ)
สืบเนื่องจากรัฐบาล ได้มีการกำหนดแนวเขตพื้นที่ ระดับภาค ทั้ง 6 ภาค ในการพัฒนาประเทศ ระดับพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หรือนโยบายของรัฐบาล สามารถตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนซ้ำซากของพื้นที่
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากระรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศระดับพื้นที่ภูมิภาคอาศัยอำนาจตามความในใาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ส.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงให้กำหนดจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16 ดังนี้
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค
|
พื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
|
จังหวัด
|
---|---|---|
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 | เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮองสอน ลําพูน | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 | ลําปาง พะเยา แพร่ น่าน | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 | พิษณุโลก ตาก อุตรดิษถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 4 | นครสวรรค์ กําแพงเพชร อุทัยธานี พิจิตร | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 | นครปฐม ชัยนาท สุพรรณบุรี สมุทรสาคร | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 6 | นนทบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ประทุมธานี พระนครศรีอยุธยา | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 | สระบุรี ลพบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 8 | ราชบุรี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9 | อุดรธานี เลย หนองคาย นครพนม สกลนคร บึงกาฬ | 6 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 | ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด หนองบัวลําภู | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 (นครราชสีมา) | นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 12 (อุบลราชธานี) | อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร มุกดาหาร อํานาจเจริญ | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) | ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ | 6 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 14 (สุราษฎร์ธานี) | สุราษฎร์ธานี ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช | 4 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 15 (ภูเก็ต) | ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง | 5 |
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 (สงขลา) | สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส | 5 |